เข้าสู่ระบบจัดการ


กรอบแนวทางการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามคู่ม

แนวทางการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามคู่มือการดำเนินงานการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนาวัง  จังหวัดหนองบัวลำภู

 

ในการจัดทำกรอบแนวทางในการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามคู่มือการดำเนินงานการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน มีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยควบคุม กำกับติดตามให้ผู้ปฏิบัติงาน ได้ปฏิบัติงานตามคู่มืออย่างถูกต้อง เหมาะสม เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลที่มีคุณภาพ ลดความผิดพลาดจากการดำเนินงาน ตลอดจนช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ซึ่งในการปฏิบัติตามกรอบแนวทาง มีประเด็นที่สำคัญที่จะนำเสนอ ได้แก่

 

1. วิธีการตรวจสอบ

          ในการตรวจสอบจะแยกการตรวจสอบออกเป็น ๒ รูปแบบ ได้แก่

    1. การตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น แบบสอบสวนการเกิดอุบัติเหตุ และภาพถ่ายการเกิดเหตุ หรือภาพที่แสดงถึงสภาพแวดล้อม ณ จุดเกิดเหตุ และจากแบบรายงานการสอบสวน
    2. การตรวจสอบจากการดูสภาพแวดล้อม ณ จุดเกิดเหตุ / การรับฟังจากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ เพื่อให้เข้าใจในสถานการณ์ และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่

 

โดยองค์ประกอบที่จะดูว่าเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตามมาตรการที่จำเป็นหรือไม่ จะพิจารณา

จากการดำเนินการในสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้หรือไม่

 

1) องค์ประกอบของทีมสอบสวนการบาดเจ็บ

          - มีการเตรียมทีม SRTT, ตำรวจ , ผู้นำชุมชนในพื้นที่ , ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในการ

           ออกตรวจสอบ

     2) การปฏิบัติตามเกณฑ์การสอบสวนการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจรทางถนน

       - มีผู้เสียชีวิตตั้งแต่ 1 รายขึ้นไป หรือมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตรวมกันในเหตุการณ์ตั้งแต่     

         2 รายขึ้นไป

      - เหตุการณ์ที่สังคมให้ความสนใจ เช่น รถโดยสารสาธารณะ  รถตู้  รถรับส่งนักเรียน รถพยาบาล 

        รถบรรทุกของสถานประกอบการ  เหตุการณ์ที่เกิดกับเด็กและเยาวชน เป็นต้น

     3) มีการสอบสวนการบาดเจ็บจากการจราจรทางถนน

3.1 แบบสอบสวนการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนรายบุคคล   จะเป็นส่วนที่รวบรวมข้อมูลรายบุคคลที่ประสบอุบัติเหตุในครั้งนั้นประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคลเบื้องต้น ความคุ้นเคยกับเส้นทาง  โรคประจำตัว จุดประสงค์ของการเดินทาง  รายละเอียดของการบาดเจ็บและการได้รับความช่วยเหลือ ลักษณะการเกิดเหตุการณ์ ยานพาหนะที่โดยสาร ปัจจัยด้านพฤติกรรมขับขี่ที่อาจเพิ่มความรุนแรงในการบาดเจ็บและผลการชันสูตรพลิกศพ

3.2 สถานที่ และสภาพแวดล้อมที่เกิดเหตุ ประกอบด้วยข้อมูลประเภทถนน ชนิดถนน จำนวนเลน การแบ่งเลน ทิศทางการเดินรถ ลักษณะทางบริเวณจุดเกิดเหตุ เครื่องหมายจราจร ผิวจราจร และปัจจัยเสี่ยงด้านรถ และสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุและภาพจำลองเหตุการณ์

2. ขั้นตอนการตรวจสอบ

          2.1 แจ้งคณะทำงานด้านอุบัติเหตุ และทีม SRRT

          2.2 ติดตามเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง มีผู้รับผิดชอบติดตามข่าวสารการเกิดอุบัติเหตุจากหลายๆช่องทางทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่นจากระบบการรายงานทางโทรศัพท์ ทางวิทยุ        แอปพลิเคชันต่างๆ เป็นต้น ซึ่งมีการรายงานจากภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เช่น อาสาสมัครกู้ชีพกู้ภัย ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาล หรือศูนย์แจ้งเหตุตำรวจ  บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถสาขาในพื้นที่

          2.3 ประชุมทีมและเตรียมอุปกรณ์ ผู้รับผิดชอบในแต่ละด้าน (ด้านคน ด้านรถ ด้านถนน) วางแผนการลงพื้นที่สอบสวน  ข้อมูลใดบ้างที่ต้องเก็บรวบรวม ใครเป็นผู้รับผิดชอบและหาข้อมูลได้จากที่ใดบ้าง อุปกรณ์ใดที่ต้องจำเป็นต้องใช้ในการลงพื้นที่ เช่น เสื้อสะท้อนแสง ตลับเมตร  ไฟฉาย  กรวยยาง แบบฟอร์มการสอบสวน กล้องถ่ายรูป เครื่องบันทึกเสียง  วิทยุสื่อสาร  รถยนต์  เสื้อกันฝน หมวก เป็นต้น และนัดหมายการลงพื้นที่และประชุมสรุปข้อมูลจากทีมสอบสวนทั้ง 3 ด้าน

      โดยผู้สอบสวนควรทราบบทบาทของทีมกู้ชีพชุดแรกเมื่อไปถึง ณ จุดเกิดเหตุ และสังเกตว่ามีการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยปกติทีมกู้ชีพจะถูกกำหนดบทบาทหน้าที่ไว้ ดังนี้

หัวหน้าทีม
a. ประเมินสถานการณ์ ตัดสินใจประกาศสถานการณ์ และรายงาน METHANE มายังศูนย์สั่งการ
b. สวมเสื้อคลุมและอุปกรณ์ป้องกันตนเอง
c. เลือกพื้นที่ ที่จะเป็นที่จอดรถพยาบาลฉุกเฉิน
d. พิจารณา ตัดสินใจว่าจะต้องระดมทรัพยากรมากน้อยแค่ไหนมาสนับสนุน
e. กำหนดพื้นที่ปฏิบัติการ
ผู้ช่วย/สมาชิกทีม
a. จอดรถพยาบาลใกล้จุดเกิดเหตุมากที่สุด ตามหลักความปลอดภัย โดยหันหน้าออกจากที่เกิดเหตุ
b. สวมเสื้อคลุมและอุปกรณ์ป้องกันตนเอง
c. เปิดสัญญาณไฟรถพยาบาลแสดงตำแหน่งจุดสั่งการ เพื่อเป็นจุดสังเกตให้ทีมสนับสนุนอื่น ๆ ที่
จะมาช่วยเหลือ
d. แจ้งศูนย์สั่งการว่ามาถึงที่เกิดเหตุแล้ว คอยประสานกับหัวหน้าทีมกับศูนย์สั่งการ
e. อยู่ประจำรถพยาบาล ห้ามนำกุญแจออกจากรถพยาบาล ไม่ควรดับเครื่อง พร้อมเคลื่อนย้าย
ตลอดเวลา เมื่อเกิดเหตุไม่ปลอดภัย
หน่วยรักษาศพ (Morgue unit)
หัวหน้าหน่วยนี้ ต้องรับผิดชอบประสานงานการเคลื่อนย้ายศพไปไว้ยังที่ปลอดภัยควรมีการฝึกฝน
เตรียมใจการรับสถานการณ์ผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และสามารถเตรียมรับปัญหาที่เกิดขึ้นจากญาติและ
เพื่อนใกล้ชิดผู้ตายได้ประสานกับศูนย์สั่งการ เพื่อรับรองจำนวนผู้เสียชีวิตและให้ศูนย์สั่งการเป็นผู้ประกาศเท่านั้นเพื่อลดความสับสน
หน่วยกำลังทรัพยากรและการเคลื่อนย้าย (Staging and transport unit)
a. หน่วยกำลังทรัพยากร ต้องคอยติดตาม ประสานงาน จัดส่งกำลังอุปกรณ์ เวชภัณฑ์และจัด
ระเบียบรถพยาบาลเข้ารับผู้ป่วยจากหน่วยดูแลรักษาพยาบาล
b. หน่วยเคลื่อนย้ายต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตามระดับความรุนแรงที่หน่วยคัดแยกและรักษาพยาบาล
แบ่งระดับไว้ โดยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่รุนแรงมากที่สุดไปยังโรงพยาบาลปลายทางก่อน
c. ควบคุม ดูแลงาน ภายใต้คำสั่งของหัวหน้าหน่วยและผู้บัญชาการเหตุการณ์
d. หน่วยงานนี้ต้องประสานงานเชื่อมต่อกับหน่วยงานภายนอกและโรงพยาบาลปลายทาง

 

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพ
a. ณ จุดเกิดเหตุก่อนและระหว่างการเคลื่อนย้ายเจ้าหน้าที่คัดแยกต้องติดตามผู้ป่วยพร้อมกับการเคลื่อนย้ายด้วย
b. เคลื่อนย้ายโดยเรียงตามลำดับความรุนแรง: emergency/urgency/non urgent moves
c. ช่วงการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปโรงพยาบาลต้องมีคำแนะนำเบื้องต้นจากหน่วยกำลังทรัพยากรและ
การเคลื่อนย้ายว่า ทางที่จะเข้า ออกจากพื้นที่ เส้นทางที่สะดวกเหมาะสมไปยังโรงพยาบาลปลายทาง
d. มีเจ้าหน้าที่ส่งข้อมูลเบื้องต้นของผู้ป่วยที่จะไปโรงพยาบาลนั้น ๆ กับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลปลาย
ทางก่อนหรือขณะเดินทางทุกราย
e. ควรหลีกเลี่ยงการสื่อสารโดยใช้โทรศัพท์ส่วนตัว ควรใช้เครื่องสื่อสารกลาง เพื่อลดความซ้ำซ้อน
และสัญญาณที่อาจติดขัดและมีปัญหาจากการใช้บริการที่มากเกินในพื้นที่
f. ผู้ป่วยระดับสีเขียว สามารถเคลื่อนย้ายโดยให้อยู่ในรถใหญ่คันเดียวกันได้
g. ถ้าเป็นไปได้ รถพยาบาลควรมีอุปกรณ์ช่วยชีวิตพื้นฐานที่เพียงพอ
h. หากขณะนำส่งผู้ป่วยระหว่างทาง ผู้ป่วยแย่ลง ให้จัดการแก้ไขไปด้วยและต้องสื่อสารถึงโรง
พยาบาลปลายทางเพื่อเตรียมรับผู้ป่วยอย่างเหมาะสมด้วยทุกครั้ง
การสื่อสาร (Communications)
a. การสื่อสารในสาธารณภัยส่วนมากจะเกิดความสับสนวุ่นวายเป็นอย่างมาก
b. เมื่อมีการจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์และหน่วยต่าง ๆ แล้ว การสื่อสารจะเริ่มเป็นระเบียบมากขึ้น
c. ปัญหาการสื่อสารที่พบบ่อย คือ อุปกรณ์ไม่เพียงพอหรือไม่พร้อมใช้ จุดอับสัญญาณ และการ
สื่อสารที่ไม่เป็นระบบทำให้เกิดความเข้าใจผิด
d. “อย่าปล่อยให้ปัญหาการสื่อสารมาเป็นสิ่งสำคัญไปกว่าการดูแลรักษาและจัดการผู้ป่วย”
การติดตามและรักษาความสงบเรียบร้อย
a. เมื่อเคลื่อนย้าย รับ-ส่งผู้ป่วยจนหมดจากที่เกิดเหตุไปยังโรงพยาบาลปลายทางแล้ว ทีมกู้ชีพอาจ
ต้องช่วยเหลือผู้ป่วยต่อ หากโรงพยาบาลปลายทางร้องขอ เนื่องจากกำลังคนไม่เพียงพอ
b. หากไม่มีการเรียกร้องความช่วยเหลือใด ๆ แล้วให้รีบกลับไปประจำจุดที่ตั้งหน่วยตามปกติ และ
เตรียมพร้อมออกปฏิบัติการหากมีเหตุการณ์เกิดขึ้นซ้ำอีก

3.การกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง

    1.  นำเสนอประเด็นการตรวจสอบแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องใน เวทีระดับตำบล/อำเภอเพื่อหาแนวทางแก้ไข
    2.  สรุป / รายงานผลการตรวจสอบให้ผู้บังคับบัญชาทราบโดยตลอด เพื่อจะได้ควบคุมกำกับการปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที
      xxxx