เข้าสู่ระบบจัดการ


จัดการความเสี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน

การปรับปรุงการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน

               

                จากการวิเคราะห์ความเสี่ยงการปฏิบัติงานที่อาจะเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ทั้งในส่วนภารกิจหลักและภารกิจสนับสนุน พบว่ามีความเสี่ยงที่สำคัญใน ๒ รูปแบบ คือ การใช้

    ทรัพย์สินของหน่วยงานเพื่อประโยชน์ของส่วนตน และการรับสิ่งของ/ผลประโยชน์  ดังนั้นจึงได้จัดทำแนวทางในการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน ดังรายละเอียดดังนี้

รูปแบบของประโยชน์ทับซ้อน

ลักษณะที่เกิดขึ้นในหน่วยงาน

แนวทางการปรับปรุง

1.การรับผลประโยชน์ต่างๆ

1.ผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยนำสิ่งของ/อาหาร มาฝากเจ้าหน้าที่

2.อสม. มอบของขวัญในช่วงเทศกาลปีใหม่

3.การเบียดบังเวลาราชการ

1. จัดทำข้อกำหนดเกี่ยวกับการรับสิ่งของ/ผลประโยชน์ต่างๆ โดยไม่ให้เจ้าหน้าที่รับสิ่งของ/ผลประโยชน์ใดๆจากผู้รับบริการและญาติ ในนามของส่วนตัว และชี้แจงให้เจ้าหน้าที่/ผู้รับบริการทราบ โดยกำหนดให้ผู้ที่จะมอบสิ่งของต่างๆให้ผ่านช่องทางการบริจาคตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของหน่วยงาน

2.กำหนดให้บุคลากรลงชื่อปฏิบัติราชการทุกวัน และให้มีการควบคุม ตรวจสอบทุกวัน หากไม่ปฏิบัติตามก็ต้องมีการรายงานผู้บังคับบัญชาพิจารณาต่อไป

2. การใช้ทรัพย์สินของหน่วยงานเพื่อประโยชน์ของธุรกิจส่วนตัว

1.มีการใช้รถของทางราชการในกิจกรรมที่ไม่ใช่ในงานราชการ

2.มีการใช้วัสดุ อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ในการทำงานส่วนตัว

3.มีการชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์ในที่ทำงาน

4.มีการใช้น้ำ ใช้ไฟของบ้านพักร่วมกับส่วนของอาคารสำนักงาน

5.การใช้สิทธ์เบิกจ่ายยาของทางราชการเพื่อเอื้อต่อตนเองและญาติ

1.กำหนดให้จัดทำบันทึกขอใช้รถ และรายงานการใช้รถของทางราชการทุกครั้งที่มีการใช้รถ เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจแล้วก็ต้องนำรถมาจอดไว้ในที่จอดรถของหน่วยงานเท่านั้น

2.ห้ามไม่ให้ใช้วัสดุ อุปกรณ์ ของทางราชการในการทำงานส่วนตัว

3.จัดหาโทรศัพท์ส่วนกลางของหน่วยงานเพื่อใช้ในการติดตามงานและติดต่อประสานงาน ทดแทนการใช้โทรศัพท์ส่วนตัว

4.แยกระบบน้ำและไฟฟ้าของบ้านพักออกจากส่วนของหน่วยงาน และติดตั้งมิเตอร์ใหม่

5.กำหนดให้มีการตรวจสอบการใช้ยาตามสิทธิ์จ่ายตรงให้สอดคล้องกันทั้งในส่วนของผู้ป่วย, ยาที่ใช้(ชนิด/ปริมาณ) และความถี่ในการรับยา ของการใช้สิทธิ์จ่ายตรงในทุกกรณี

รายงานผลการปรับปรุงการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน

                                จากการจัดทำวิเคราะห์ความเสี่ยงการปฏิบัติงานที่อาจะเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ทั้งในส่วนภารกิจหลักและภารกิจสนับสนุน พบว่ามีความเสี่ยงที่สำคัญใน ๒ รูปแบบ คือ การใช้ทรัพย์สินของหน่วยงานเพื่อประโยชน์ของส่วนตน และการรับสิ่งของ/ผลประโยชน์  และได้จัดทำแนวทางการปรับปรุงการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน ให้ทุกหน่วยบริการได้ดำเนินการตามแนวทางการปรับปรุง ซึ่งมีผลการดำเนินงานดังรายละเอียดดังนี้

รูปแบบของประโยชน์ทับซ้อน

ลักษณะที่เกิดขึ้นในหน่วยงาน

แนวทางการปรับปรุง

ผลการปรับปรุง

1.การรับผลประโยชน์ต่างๆ

1.ผู้ป่วย/ญาติผู้ป่วยนำสิ่งของ/อาหาร มาฝากเจ้าหน้าที่

2.อสม. มอบของขวัญในช่วงเทศกาลปีใหม่

3.การเบียดบังเวลาราชการ

1. จัดทำข้อกำหนดเกี่ยวกับการรับสิ่งของ/ผลประโยชน์ต่างๆ โดยไม่ให้เจ้าหน้าที่รับสิ่งของ/ผลประโยชน์ใดๆจากผู้รับบริการและญาติ ในนามของส่วนตัว และชี้แจงให้เจ้าหน้าที่/ผู้รับบริการทราบ โดยกำหนดให้ผู้ที่จะมอบสิ่งของต่างๆให้ผ่านช่องทางการบริจาคตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของหน่วยงาน

2.กำหนดให้บุคลากรลงชื่อปฏิบัติราชการทุกวัน และให้มีการควบคุม ตรวจสอบทุกวัน หากไม่ปฏิบัติตามก็ต้องมีการรายงานผู้บังคับบัญชาพิจารณาต่อไป

1.บุคลากรทุกคนไม่มีการรับสิ่งของ/ผลประโยชน์ที่จะทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน

2.ในการลงชื่อปฏิบัติราชการและการมาปฏิบัติราชการตามเวลาราชการ พบว่ามากกว่าร้อยละ90 มีการปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบ แต่มีเพียงบางส่วนที่ออกปฏิบัติงานนอกพื้นที่ ที่ไม่สามารถลงชื่อปฏิบัติงานได้

 

2. การใช้ทรัพย์สินของหน่วยงานเพื่อประโยชน์ของธุรกิจส่วนตัว

1.มีการใช้รถของทางราชการในกิจกรรมที่ไม่ใช่ในงานราชการ

2.มีการใช้วัสดุ อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ ในการทำงานส่วนตัว

3.มีการชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์ในที่ทำงาน

4.มีการใช้น้ำ ใช้ไฟของบ้านพักร่วมกับส่วนของอาคารสำนักงาน

5.การใช้สิทธ์เบิกจ่ายยาของทางราชการเพื่อเอื้อต่อตนเองและญาติ

1.กำหนดให้จัดทำบันทึกขอใช้รถ และรายงานการใช้รถของทางราชการทุกครั้งที่มีการใช้รถ เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจแล้วก็ต้องนำรถมาจอดไว้ในที่จอดรถของหน่วยงานเท่านั้น

2.ห้ามไม่ให้ใช้วัสดุ อุปกรณ์ ของทางราชการในการทำงานส่วนตัว

3.จัดหาโทรศัพท์ส่วนกลางของหน่วยงานเพื่อใช้ในการติดตามงานและติดต่อประสานงาน ทดแทนการใช้โทรศัพท์ส่วนตัว

4.แยกระบบน้ำและไฟฟ้าของบ้านพักออกจากส่วนของหน่วยงาน และติดตั้งมิเตอร์ใหม่

5.กำหนดให้มีการตรวจสอบการใช้ยาตามสิทธิ์จ่ายตรงให้สอดคล้องกันทั้งในส่วนของผู้ป่วย, ยาที่ใช้(ชนิด/ปริมาณ) และความถี่ในการรับยา ของการใช้สิทธิ์จ่ายตรงในทุกกรณี

1.มีการจัดทำบันทึกขอใช้รถ และรายงานการใช้รถของทางราชการ แต่ยังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากไม่ลงบันทึกการใช้รถไม่ครบถ้วนตามที่ใช้จริง

2.ไม่มีการใช้วัสดุ อุปกรณ์ ของทางราชการในการทำงานส่วนตัว

3.มีการจัดหาโทรศัพท์ส่วนกลางของหน่วยงาน แต่ยังไม่ครอบคลุมทุกหน่วยงาน

4.มีการแยกน้ำและไฟฟ้าของบ้านพักออกจากอาคารสำนักงานในทุกหน่วยบริการ และให้สามารถเบิกจ่ายได้ตามสิทธิ์

5.มีการตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสม ในการใช้สิทธิ์จ่ายตรง ตามสิทธิ์ที่มี ครอบคลุมทุกราย