สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนาวัง เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทภารกิจตามกฎหมายที่สำคัญ ได้แก่
(๑) จัดทําแผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพในเขตพื้นที่อําเภอ
(๒) ดําเนินการและให้บริการด้านการแพทย์และการสาธารณสุขในเขตพื้นที่อําเภอ
(๓) กํากับ ดูแล ประเมินผล และสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานสาธารณสุข ในเขตพื้นที่อําเภอ
เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎหมาย มีการบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและ มีการคุ้มครองผู้บริโภค
ด้านสุขภาพ
(๔) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานเกี่ยวกับงานสาธารณสุขในเขตพื้นที่อำเภอให้เป็นไปตามนโยบาย
ของกระทรวง
(๕) พัฒนาระบบสารสนเทศ งานสุขศึกษา และการสื่อสารสาธารณะด้านสุขภาพในเขตพื้นที่อำเภอ
(๖) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
•หมายเหตุ กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานกระทรวงสาธารณสุข ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๐
จากบทบาทหน้าที่ดังกล่าว สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนาวัง จึงได้กำหนดภารกิจบริการที่สำคัญๆ ที่จะต้องจัดการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ดังนี้
จากภารกิจที่ต้องจัดการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนทั้ง ๔ ภารกิจ ดังกล่าว ได้กำหนด
กระบวนงาน(Flowchart) ที่สำคัญ ดังนี้
๑.การให้ข้อมูลและสนับสนุนวิชาการด้านสุขภาพแก่ประชาชน/หน่วยงาน |
||
ขั้นตอนสำคัญ |
รายละเอียดกิจกรรม |
ระยะเวลาที่ใช้ |
๑.รับเรื่อง/ความต้องการทางด้าน ข้อมูลด้านสุขภาพ |
- ผู้ขอรับข้อมูล เขียนใบคำขอและลงรายละเอียดข้อมูลที่ต้องการทั้งประเภทของข้อมูล และรูปแบบ |
๕ นาที |
๒.จนท.ตรวจสอบที่มา/ เหตุผลและ ความจำเป็นในการขอใช้ชุดข้อมูล |
- ตรวจสอบว่ามีการระบุตัวตนผู้ขอเอกสารหรือไม่ และพิจารณาความจำเป็นในการใช้แอกสารดังกล่าว |
๑๐ นาที |
๓.บันทึกเสนอผู้บริหารองค์กรในการ พิจารณาอนุญาต |
- รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และจัดทำบันทึกเสนอผู้บริหารพิจารณาอนุญาต |
๓๐ นาที |
๔.จัดทำ/เตรียมข้อมูล ตามที่ร้องขอ/ อนุญาต |
- จัดพิมพ์เอกสาร/เตรียมไฟล์ข้อมูล/อื่นๆ |
๑๕ – ๓๐ นาที |
๕.ส่งมอบข้อมูล |
- ส่งมอบข้อมูลให้ผู้รับบริการในประเภท/รูปแบบ/จำนวน/ตามที่ผู้บริการร้องขอมาหรือตามความเหมาะสม,จำเป็นที่ได้พิจารณาแล้ว |
๑๐ นาที |
......
๒.การควบคุม ป้องกันโรคที่เป็นปัญหาในพื้นที่ (โรคไข้เลือดออก) |
||
ขั้นตอนสำคัญ |
รายละเอียดกิจกรรม |
ระยะเวลาที่ใช้ |
๑. การรับรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก |
- เมื่อมีการรายงานการเกิดโรคไข้เลือดออก จนท.ผู้รับผิดชอบงานระบาดวิทยา/งานควบคุมโรค แจ้งประสานไปยังผู้รับผิดชอบงานระดับอำเภอและ จนท.ในระดับพื้นที่ - ลงบันทึกรับแจ้งข่าวโรคสำคัญ/Dash board |
ภายใน ๓ ชั่วโมง |
๒. การยืนยันการระบาด |
- จนท. เก็บข้อมูล/ตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วย ในแฟ้ม ประวัติผู้ป่วย โดยเฉพาะข้อมูลทางห้องปฏิบัติการ - จนท. ลงเก็บข้อมูลการเจ็บป่วยของผู้ป่วยในชุมชน |
ภายใน ๑ วัน |
๓. การควบคุมโรค |
- เมื่อมีการยืนยันการเกิดโรค จนท.ลงควบคุมโรค * ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในชุมชน(๓ เก็บ ๓ โรค) * พ่นสารเคมีกำจัดตัวแก่ยุงลายในชุมชน * กำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ * ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์แก่ประชาชน |
ในวันที่ ๐ , ๓ , ๗ , ๑๔ , ๒๘ |
๔.การรายงาน |
- สรุปรายงานการเกิดโรค , การควบคุมโรค และสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อเสนอต่อผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้อง |
ภายใน ๓ วัน หลังจากที่ดำเนินการในแต่ละกิจกรรมแล้วเสร็จ |
……………..
๓.การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ |
||
ขั้นตอนสำคัญ |
รายละเอียดกิจกรรม |
ระยะเวลาที่ใช้ |
๑. การเฝ้าระวังโรคผลิตภัณฑ์สุขภาพ |
-รับรายงาน/ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ -ประสานเจ้าหน้าที่งาน คบส./ฝ่ายเภสัชกรรม รพ.นาวังฯ -ประสาน จนท. ใน รพ.สต. ที่เกี่ยวข้อง -ทำหนังสือแจ้งผู้ที่ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ |
๕ นาที ๕ นาที ๕ นาที ๕ นาที ๑๕ นาที
|
๒. การตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพ |
- เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ถูกร้องเรียนเพื่อตรวจ/ส่งตรวจ ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- รอรับผลการตรวจ |
๒๐ นาที (ในสถานที่) ๑ วัน (นอกสถานที่) ๑๕-๓๐ วัน |
๓. การรายงานผล |
๑. ทำรายงานสรุปผล/ประกาศเผยแพร่ผลการตรวจ |
๒ วัน |
..................
๔.การดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยพึ่งพิง |
||
ขั้นตอนสำคัญ |
รายละเอียดกิจกรรม |
ระยะเวลาที่ใช้ |
๑. การประเมิน/คัดกรอง ผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง |
-ประเมิน/คัดกรอง ผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง ตามแบบฟอร์มมาตรฐาน -ขึ้นทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย
|
30 นาที
10 นาที |
๒. การจัดการดูแล - การออกเยี่ยมบ้าน - การตรวจเยี่ยมสนับสนุนโรงเรียน ผู้สูงอายุในชุมชน - การจัดหากองทุนดูแลผู้สูงอายุ - เป็นคณะกรรมกองทุน LTC |
- จัดทำแผนการออกเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมาย - ออกเยี่ยมบ้านตามแผนที่กำหนดไว้ - ประเมินภาวะความจำเป็นในการรับการดูแล/ ช่วยเหลือ - การติดตามเยี่ยมการดำเนินงานของโรงเรียน ผู้สูงอายุ เพื่อให้การช่วยเหลือ/สนับสนุนตามความ จำเป็น -การจัดทำแผนงาน/โครงการเพื่อเสนอของบกองทุน สุขภาพระดับพื้นที |
1 วัน 1 ชม. 1 ชม.
1-2 ชม.
1 เดือน |
๓. การรายงานผลการดูแล |
-รายงานสถานการณ์ภาวะพึ่งพิงของผู้สูงอายุ -รายงานผลการช่วยเหลือ/ดูแล -รายงานการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุ -รายงานผลการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ |
30 นาที 1 วัน 1 วัน 1 วัน |
...................
๕.การรับรองสิทธิ์ อสม. เพื่อช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล |
||
ขั้นตอนสำคัญ |
รายละเอียดกิจกรรม |
ระยะเวลาที่ใช้ |
๑. การจัดทำแบบคำขอรับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล |
-ผู้ป่วย/อสม. ทำแบบคำขอรับสิทธิ์การช่วยเหลือด้านค่ารักษาพยาบาล(ค่าห้อง/ค่าอาหาร ห้องพิเศษ) - เสนอแบบคำขอฯยื่นต่อ ผอ.รพ.สต. ต้นสังกัด |
๑๕ นาที
๒๐ นาที |
๒. การตรวจสอบสิทธิ์ อสม. ในการได้รับการช่วยเหลือด้านค่ารักษา พยาบาล |
- สสอ. รับหนังสือขอรับการช่วยเหลือด้านค่ารักษาพยาบาล(ค่าห้อง/ค่าอาหาร ห้องพิเศษ) - ตรวจสอบสิทธิ์ อสม. ว่าเป็น อสม. ดีเด่นระดับจังหวัด/เขต/ประเทศหรือไม่ หรือเป็น อสม. ที่ปฏิบัติงานมาครบ ๑๐ ปี หรือไม่ |
๕ นาที
๒๐ นาที |
๓. การจัดทำหนังสือรับรองสิทธิ์ฯ |
- ออกหนังสือรับรองสิทธิ์ให้กับ อสม./ผู้ป่วยที่มีสิทธิ์ได้รับการช่วยเหลือตามเกณฑ์ |
๑๐ นาที |